2.13.2013

ขนาดการค้าของจีนใหญ่กว่าสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก


ขนาดการค้าของจีนใหญ่กว่าสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก

จีนได้ก้าวกระโดดแซงหน้าสหรัฐฯ ในการก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำตลาดใหญ่สุดของโลก เป็นครั้งแรกหลังจากสหรัฐฯ ครองตำแหน่งนี้หลังสิ้นสุดสงครามโลก
มูลค่าการค้าทั้งในรูปส่งออก และนำเข้าซึ่งเผยแพร่โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รวมอยู่ที่ 3.82 ล้านล้านดอลลาร์ ในขณะที่หน่วยงานศุลกากรจีน (ตัวเลขนำเข้า-ส่งออก) ได้ประกาศตัวเลขยอดรวมของประเทศออกมาอยู่ที่ 3.87 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ตัวเลขดังกล่าวของจีนโดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวเลขการนำเข้าซึ่งมีอัตราขยายตัวเร็วกว่าการส่งออก มีแนวโน้มการขยายตัวมาตลอดนับแต่ปี 2007  
จีนมีดุลการค้าเกินดุลกับต่างประเทศทั้งหมด 727.9 พันล้านเหรียญ ซึ่งจากตัวเลขนี้เป็นตัวเลขการได้เปรียบดุลการค้ากับสหรัฐถึง 231.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ
อนึ่งนักวิเคราะห์วิเคราะห์ และมองว่า เนื่องจากจีนนับค่าสถิติบนพื้นฐานปีต่อปี ซึ่งปีใหม่ตามจันทรคติของจีนในรอบปีดังกล่าว กินเวลายาวนานกว่าในปีที่ผ่านมา (ตรุษจีนปี 2012 ตรงกับเดือนมกราคม ตรุษจีนปี 2013 ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์)
อย่างไรก็ดี กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วไปของจีนโดยรวมก็เป็นที่น่าประทับใจ และมองเห็นการเติบโตในภาคบริการ และภาคการผลิตด้วยยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนมกราคมที่เพิ่มสูงขึ้นถึงระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยเพิ่มขึ้นถึง 46.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยขายไปได้ถึง 2.03 ล้านคัน สมาคมผู้ผลิตยานยนต์ของจีน (CAAM) กล่าวว่า ยอดการผลิตส่งมอบเฉลี่ยในแต่ละเดือนยังเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ด้วยตัวเลข 1.96 ล้านคัน หรือ 51.17%
ข้อมูลเหล่านี้ คงจะช่วยช่วยบรรเทาอาการหวาดกลัวว่าจีนอาจเผชิญสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำถึงแม้จะมีการเร่งการการเจริญเติบโตในประเทศ
ธนาคารสัญชาติฝรั่งเศส Société Générale กล่าวเมื่อเดือนที่ผ่านมาว่า ยังมีโอกาสที่จะเกิดการ ชะลอตัวอย่างหนัก หากการเจริญเติบโตลดลงไปต่ำกว่า 6% ซึ่งต่ำเป็นอย่างมากสำหรับจีน
นักเศรษฐศาสตร์แห่งมูดีส์กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า "สภาวการณ์ชะลอตัวอาจเป็นไปได้ภายในสิ้นปีถ้ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมไม่มีออกมาอย่างเพียงพอ และทางปักกิ่งคงไม่อยากให้เป็นเช่นกัน เพราะยังมีแรงกดดันจากเงินเฟ้อแฝงเพิ่มเข้ามา ซึ่งรวมกับตัวเลขการส่งออกที่คาดว่าจะมีการเติบโตในระดับปานกลางในภาวะที่เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว" อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่ได้ก็สร้างความมั่นใจในระดับหนึ่ง
 สอดคล้องกับการให้สัมภาษณ์ของ ซุน จุนเว่ย นักเศรษฐศาสตร์แห่ง HSBC ประจำกรุงปักกิ่งกล่าวว่า "ไม่มีสิ่งใดที่ต้องกังวลสำหรับการฟื้นตัวอย่างเข้มแข็งของจีนในปีนื้ทั้งปี"

2.09.2013

Chinese hacker was suspected attacking Western Media.


Chinese hacker was suspected attacking US Media.

Last week we learned that the computers systems of The New York Times had been suspected attacking by Chinese hackers following publication of its story on Prime Minister Wen Jiabao's accumulation of wealth over his period. Then it quickly came out that The Washington Post andThe Wall Street Journal had also been hacked.
This follows in the wake of the Chinese hacking of Google and a variety of other companies. The hacking seems to be tied in some way to the Chinese government and apparently has various motives, ranging from identifying sources for stories on China to distorting markets in favor of native Chinese companies.
เพิ่มคำอธิบายภาพ
In the case of Google, the attacks resulted in significant destruction of its business and its displacement as the leader in the Chinese market by the Number 1 Chinese search engine Baidu which it is expanding to many countries.
The enthusiasm over the past decade of foreign businesses to invest, produce, and sell in China has been fueled primarily by two assumptions. One is that China has truly chosen the capitalist road and that business is a matter of free market competition without government interference. In the other hands is that the costs of doing business are extraordinarily low in China and therefore, to be globally competitive, a company has no choice come to there.
It is now clear that both of these assumptions are false. China is only halfway onto the capitalist road. Government has not withdrawn from the economy and especially not from control of information. Moreover, the government wants Chinese companies to succeed and predominate in a wide variety of industries. A consequence of all this is that the hidden cost of doing business in China can be very high. Indeed, far from having to produce in China to be globally competitive, it may well be the case that in order to survive globally a company must avoid producing in China.
Certainly any significant business needs to be extremely careful in how it deploys and operates in China. It will almost inevitably become, if it already isn't, a target for hacking and electronic espionage. It must understand that even more than in other environments, in China, business is war.
It must also understand that business is often a matter of national strategy and of nationalist sentiment in China. That means it will be under observation not only by business competitors but perhaps also by the government or government-linked entities. In calculating the true costs of producing and doing business in China, it is important to incorporate these factors into the equation. The true costs may be much higher than the estimates made by the business accountants based simply on normal business costs.

2.08.2013

สงครามธุรกิจในจีน

chinese hacker

The business is war in China

เมื่อสิ้นเดือนมกราคม 2013 ที่่ผ่านมามีข่าวเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ของ The New York Times ถูกโจมตี ซึ่งถูกต้องสงสัยว่ามาจากเหล่าแฮกเกอร์ชาวจีน ซึ่งตะวันตกคาดกันว่ามาจากการเผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับความร่ำรวยของนายกฯ เหวิน เจีย เป่า ในช่วงระหว่างการบริหารประเทศ ต่อมาเวบไซท์ของ วอชิงตันโพสต์  และ หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัล  ก็ได้โดนทะลวงระบบเช่นกัน

ซึ่งต่อไป อาจมีการความตื่นตัวของแฮคเกอร์จีน เพื่อเข้าทะลวง Google และ บริษัทอื่น ๆ ตามมา จึงเริ่มมีข้อสงสัยตามมาว่าระบบการแฮ็คดูเหมือนจะเชื่อมโยงในแง่ที่มีแรงจูงใจจากทางรัฐบาลปักกิ่ง

ในกรณีของ Google, การโจมตีมีผลอย่างมีนัยสำคัญของธุรกิจ และรวมถึงการขึ้นแท่นในฐานะผู้นำของ Baidu ซึ่งเป็น search engine อันดับหนึ่งของจีน และสยายปีกธุรกิจออกไปยังต่างแดนหลายประเทศ ซึ่งรวมถึงเวอร์ชั่น ภาษาไทย

ความตื่นตัวในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาของนักธุรกิจต่างชาติที่จะลงทุนผลิต และขายในประเทศจีน ได้รับการผลักดันหลักโดยสมมติฐานหลัก 2 ประการ หนึ่งคือการที่ประเทศจีนได้รับการยอมรับว่า เดินในระบอบทุนนิยมอย่างแท้จริง การแข่งขันในตลาดเสรีเป็นไปโดยไม่มีการแทรกแซงจากทางภาครัฐ และการแทรกแซงอื่น ๆ  ส่วนอื่นก็เป็นเพียงต้นทุนการดำเนินธุรกิจที่ต่ำเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นเหตุผลให้เกิดการแข่งขันของบริษัททั่วโลก ผลิตสินค้าที่นั่นโดยไม่มีทางเลือก

ตอนนี้มันเป็นที่ชัดเจนว่าสมมติฐานเหล่านั้นไม่จริง ประเทศจีนเดินในระบอบเศรษฐกิจทุนนิยมเพียงครึ่งเดียว รัฐบาลยังไม่ได้ถอนตัวออกจากระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมข้อมูลข่าวสาร นอกจากนี้ทางปักกิ่งยังต้องการให้ บริษัทสัญชาติจีนประสบความสำเร็จ และครอบงำในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่หลากหลาย ซึ่งผลที่ตามมาคือค่าใช้จ่ายที่ซ่อนอยู่ในการดำเนินธุรกิจในแผ่นดินจีน

แน่นอนใด ๆ ทางธุรกิจ ต้องมีการระมัดระวังอย่างมากในการปรับใช้วิธีการ และการดำเนินการในแผ่นดินจีน มันอาจไม่เกิดขึ้นกับคุณ แต่มันอาจเกิดขึ้นกับคุณได้ทุกเมื่อที่จะเป็นเป้าหมายของการจารกรรมข้อมูลทางอินเตอร์เนต ในประเทศจีนธุรกิจคือสงคราม

นอกจากนี้ยังจะต้องเข้าใจในตัวธุรกิจ ซึ่งเป็นมากกว่าธุรกิจที่มักจะเป็นเรื่องของกลยุทธ์ระดับชาติ รวมถึงความรู้สึกชาตินิยมของคนจีน นั่นหมายถึงว่า เราไม่ได้ถูกสังเกตแค่เฉพาะจากคู่แข่งทางธุรกิจ แต่บางทีก็อาจมาจากรัฐบาลหรือหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง การรวมปัจจัยเหล่านี้ลงในสมการค่าใช้จ่ายที่แท้จริง อาจสูงกว่าที่ถูกฝ่ายบัญชีประมาณการที่จัดทำโดยนักบัญชี จากการประเมินเพียงค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจปกติ

2.05.2013

ไปเดินงาน exhibition ที่กวางโจวกัน



ไปเดินงาน exhibition ที่กวางโจวกัน

จากที่ได้ไปเยี่ยมชม tradeshow ทั้งในฐานะ visitor รวมถึงร่วมเป็น exhibitor นั้น ทำให้รับรู้ได้ถึงการที่ผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกต่างบินไปที่จีนทั้งเพื่อออกงานไม่ว่าจะเป็นกวางโจว เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง เซินเจิ้น ฉงชิ่ง รวมถึงดูความก้าวหน้าในเทคโนโลยี รวมถึงแนวโน้ม และทิศทางในอนาคตของอุตสาหกรรมนั้น ๆ แม้แต่บริษัทฯ ต่างชาติ รวมถึงไทย ก็เคยไปออกงานพวกนี้มาแล้ว


ผมนำประสบการณ์การออกงานที่จีนมาเล่าพอเป็นสังเขป

  • Guangzhou Lighting Fair floor plan
1/ เท่าที่คุยกับเพื่อนคนจีน หากเราเป็นบริษัทฯ สัญชาติไทย หรือสัญชาติอื่น ค่าจองบู๊ทจะแพงกว่าบริษัทฯ สัญชาติจีน แต่เมื่อถามกับคนที่เป็นExhibition organizer coordinator กลับตอบว่าเท่ากัน

2/ หากสนใจออกงานในฐานะ exhibitor ควรติดต่อเอเจนท์จีน ที่ไม่ได้เป็น host organizer เพื่อช่วยอำนวยความสะดวก และเรทค่าออกบู๊ทที่พอ ๆ กันกับการติดต่อโดยตรงกับ host

3/ หากไปเยี่ยมชมงานในฐานะ visitor ควรเข้าไปดูเวบไซท์ของตัวงานที่เป็นทางการ ซึ่งจะบอกถึงศึกษาถึงแผนผัง Floor plan ยกตัวอย่าง ผมไปออกงาน Guangzhour International Lighting Exhibition อยู่ที่ Hall 1.2  เพราะเป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับทางด้านไฟฟ้า

4/ show วันแรก ยังจะมาไม่ค่อยครบ หรืออุปกรณ์ไม่ค่อยครบ แต่หลังจากครึ่งวันเช้าผ่านไปแล้ว ก็โอเค
5/ วันสุดท้ายจะออกบู๊ทกันแค่ครึ่งวัน และทั้งหมดจะรีบเก็บของ ซึ่งคุณจะไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าไร เช่น งานนี้ออกบู๊ทระหว่าง 9 12 มิถุนายน วันสุดท้ายวันที่ 12 คุณไม่ต้องไป
6/ การร่วมงานนี้ในฐานะ visitor หากคุณไม่ได้ลงทะเบียนออนไลน์ไปก่อน หากต้องการเข้าร่วมต้องเสีย 50 หยวน ซื้อบัตรผีก่อนเข้างานก็ได้ ไม่แน่ใจนักว่าราคาเท่าไรเพราะไม่เคยซื้อ แต่น่าจะอยู่ที่ 10 หยวน ต่อราคาเหลือ 5 หยวนก็คงได้
7/ หากคุณรู้จักกับคนที่ไปออกงาน exhibitor ให้เขาออกใบเชิญในฐานะ Guest และปริ๊นท์ใบดังกล่าวไปด้วย อันที่จริงแล้วทางออร์แกไนเซอร์เขาก็มีข้อมูลออนไลน์ แต่มันจะสะดวกกันทั้ง 2 ฝ่ายหากคุณปริ๊นท์แผ่นนั้นติดมือไป
8/ ดูว่าบู๊ทโซนที่เราสนใจอยู่โซน หรือฮอลล์ใด หากเป็น Hall 1 – 5 ลงสถานีซินก่างต้ง (XIN GANG DONG新港东) Hall 9 เป็นต้นไปให้ลงสถานีผาโจว (PAZHOU琶洲
9/ เรื่องการเดินทางเพื่อไปยังที่จัดแสดงงาน ดูหัวข้อ Visit Canton Fair จะอธิบายง่ายกว่าเพราะใช้สถานที่จัดที่เดียวกัน
Guangzhou Lighting Fair layout

สุดท้าย ผมได้แนบรายชื่อ Top 10 Event organized in China เพื่อเป็นข้อมูลคร่าว ๆ สำหรับผู้สนใจ จะเห็นว่าส่วนใหญ่แล้วงาน tradeshows หลัก ๆ จะจัดที่กวางโจว ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำไมผมจึงอธิบายเรื่องของเมืองกวางโจว และ exhibition ที่กวางโจวเสียเป็นส่วนใหญ่


top 10 event china

2.04.2013

การบริหารจัดการการสั่งซื้อกับซัพพลายเออร์จีน


china supplier management

การบริหารจัดการการสั่งซื้อกับซัพพลายเออร์จีน

Purchasing management with Chinese suppliers

หากตอนนี้คุณได้ดำเนินการไปตามที่กล่าวคือ
การต่อรองกับซัพพลายเออร์
การประเมินศักยภาพซัพพลายเออร์
การมองหาซัพพลายเออร์
และเทคนิคการดีลธุรกิจกับคนจีน


Delicious Delicious
นั่นหมายถึงคุณได้ทำการค้นหาซัพพลายเออร์ ที่มีระบบการผลิตที่มีคุณภาพดี และเหมาะกับขนาดการสั่งซื้อหรือธุรกิจของคุณ แต่ถ้าหากคุณได้ตัดสินใจเปิดใบสั่งซื้อใบแรกไปยังซัพพลายเออร์ที่แย่ในการจัดการ หรือไม่เหมาะสมกับธุรกิจคุณ นั่นคือการติดกระดุมผิดตั้งแต่เม็ดแรก อย่าได้หวังว่าโรงงานที่แย่ ๆ จะผลิตของดี ๆ ดังนั้นขั้นตอนแรก ๆ จึงค่อนข้างมีความสำคัญต่อขั้นตอนต่อไป ซึ่งหากคุณได้เลือกซัพพลายเออร์ที่ดีแล้ว การบริหารจัดการโปรเจคการผลิต เช่นการจัดส่ง และการควบคุมคุณภาพก็ง่ายขึ้น



การสั่งให้ผู้ผลิตจีน ผลิตของให้เรา จะต่างจากระบบของไทย คือระบบของไทยหากคุณได้เปิดใบสั่งซื้อ และปรู๊ฟงานอื่น ๆ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็แค่นั่งรอสินค้าผลิตและส่งมอบ แต่กับซัพพลายเออร์จีนไม่ใช่ เมื่อคุณเปิดใบสั่งซื้อ การบริหารจัดการในฝั่งคุณเองต้องตามไปด้วย 


แน่นอนว่าขนาดของโรงงาน และประสิทธิภาพจะแปรผันกัน ตามอ่านได้ใน overview for china factory 


แต่ไม่ว่าขนาดของโรงงานใหญ่ขนาดไหน การบริหารจัดการการสั่งซื้อต้องควบคู่กันไป ปกติแล้วเราจะได้ดีลกับเซลส์ซึ่งเป็นผู้ประสานงานระหว่างเรา กับซัพพลายเออร์ หรือโรงงาน ซึ่งต้องคอยตามจี้ว่า การผลิตได้เป็นไปตามกำหนดการส่งหรือไม่ ซึ่งเซลส์ก็โอเค แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นพวกเขาไม่ใช่วิศวกร การจัดการเรื่องของโปรเจคก็ไม่ค่อยดีสักเท่าไร เรื่องของกระบวนการผลิตก็ไม่ค่อยทราบ หรือระบบควบคุมคุณภาพก็ไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไร ซึ่งบางเรื่องเราอาจใช้แทคติคเข้ามาช่วยดังนี้

  • พยายามเลือกขนาดของโรงงาน ที่เหมาะกับขนาดการสั่งซื้อของเรา หากคุณเป็นผู้ซื้อรายย่อย แต่ไปสั่งของกับโรงงานขนาดใหญ่ คุณจะไม่ค่อยได้รับการเอาใจใส่มากนัก
  • พยายามขอ Quote ราคาเป็น FOB
  • พยายามสื่อสารกับโรงงานเป็นประจำ ในทำนองว่าคุณติดตามออร์เดอร์อยู่ หากไม่ตาม ส่วนมากแล้วจะได้ของไม่ตรงตามกำหนด
  • หากกำหนดการส่งคือต้นเดือนบอกว่า เราต้องประสานงานกับสายเรือ และค่าเรือจะมีการเปลี่ยนแปลง เราต้องรู้กำหนดการคร่าว ๆ ได้ ตามกำหนดหรือไม่ เป็นการโยนเรื่องเข้าสู่ดรามา หากเป็นไปตามกำหนด เช่นต้นเดือน เราจะจองเรือเลย จะได้ใช้เรทเดือนนี้ เพราะเดือนหน้าเรทเรือขึ้น
  • หากกำหนดการคือกลางเดือน ก็ทำคล้าย ๆ ด้านบน ถามวันที่ประมาณการ เพื่อจองตั๋วเครื่อง จะส่งจนท.บินไปคิวซี ช่วงนี้เที่ยวบินเต็ม
  • หากกำหนดการคือปลายเดือน ก็ถามคล้าย ๆ ว่ายังกำหนดการเดิมใช่ไหม ไม่ต้องแจ้งเลื่อนเรือหรืออะไร หรือจะนำเรื่องข้ออ้างวันหยุดของเรา / ของเขามาเป็นประเด็น เพื่อสร้างดรามา
  • แต่อย่าพยายามตามจี้บ่อยครั้งเกินไป จนเรากลายเป็น ลูกค้าเจ้าปัญหา พยายามโยนเรื่องออกนอกตัว และเข้าสู่โหมดดรามา
  • อย่าได้คิดเองเออเองว่าชิปปิ้งจะตามของให้คุณ คุณต้องตามของเอง
  • อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องทำคือนำ Payment condition เข้าเป็นส่วนหนึ่งของ Purchase order / Proforma Invoice 
  • การชำระเงินขั้นสุดท้าย ต้องผ่านการเห็นว่า ของผลิตออกมาได้ตามที่คุย หรือตกลงกันตามเงื่อนไข กันงบประมาณส่วนหนึ่งสำหรับทริปเดินทางไปตรวจสอบคุณภาพที่จีน อย่างไรเสียคุณ หรือผู้รับมอบอำนาจที่เชื่อถือได้ third party ต้องบินไปตรวจสอบของ อย่าลืม